โรงเรียนรพีเลิศวิทยา
Rapeeleart Wittaya School
เลขที่ 179/9 หมู่ 4 ต.ป่าสัก อ.เมือง จ.ลำพูน 51000
053-537-999
จำนวนนักเรียน : 783 คน
ประวัติความเป็นมา
โรงเรียนรพีเลิศวิทยาเริ่มก่อตั้งที่บริเวณหมู่บ้านรัชฎแลนด์ ตำบลป่าสัก อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน เมื่อ พ.ศ. 2538 โดยอาจารย์วาทิตย์ ตั้งรพีเลิศ และอาจารย์สมสมัย อุ่นบ้าน ก่อสร้างอาคารชั้นเดียว 1 หลัง รวม 5 ห้องเรียน วันที่ 13 พฤษภาคม 2539 เปิดเรียนวันแรกมีนักเรียน 13 คน อาจารย์สมเกียรติ พรหมใจลักษณ์ เป็นครูใหญ่

ผู้ก่อตั้ง
1. นางสมสมัย อุ่นบ้าน ผู้รับใบอนุญาต
2. นายวาทิตย์ ตั้งรพีเลิศ ปัจจุบันตำแหน่งผู้อำนวยการ / ผู้จัดการ

การก่อตั้ง
แรกเริ่มใช้ชื่อโรงเรียนอนุบาลรพีเลิศ แต่ต่อมาได้ขออนุญาตเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนรพีเลิศวิทยา ตามบริบทของโรงเรียนที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งตั้งอยู่เลขที่ 179/9 หมู่ที่ 4 ตำบลป่าสัก อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน 51000 หมายเลขโทรศัพท์ 053-584221, 053-584223-4, 537559, 537998-9 โทรสาร 053-537999 มีเนื้อที่ 1 ไร่ ทำการก่อสร้างเมื่อปลายปี 2538 โดยสร้างเป็นอาคารเรียนชั้นเดียว จำนวน 1 หลัง มีห้องเรียนจำนวน 5 ห้อง, ห้องศูนย์การเรียน 1 ห้อง, ห้องธุรการ 1 ห้อง, ห้องครัว 1 ห้อง, ห้องน้ำรวมสำหรับเด็กจำนวน 1 ห้อง (มีโถนั่งชักโครก 4 โถ) โรงอาหาร 1 โรง มีสนามหญ้า

เปิดดำเนินการสอน
ได้รับอนุญาต และเปิดทำการสอนเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ.2539 มีจำนวนนักเรียน 13 คน, ครูผู้สอน 7 คน, นักการภารโรง 1 คน

ปี พ.ศ.2540
มีจำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้นมากตามลำดับ ซึ่งอาคารหลังเดิมมีห้องเรียนไม่เพียงพอกับจำนวนของนักเรียน จึงได้ก่อสร้างห้องเรียน และโรงอาหาร

ปี พ.ศ.2541
ทำการปรับปรุงบริเวณสนามเด็กเล่น ขยายห้องเรียน และห้องคอมพิวเตอร์ช่วยในการสอนจำนวน 20 เครื่อง เสริมระบบอินเตอร์เน็ต

ปี พ.ศ.2542
ทางโรงเรียนได้ก่อสร้างอาคารเรียน 2 ชั้นเพิ่มเติม มีครูทำการสอนจำนวน 14 คน, นักการภารโรง 3 คน, แม่บ้าน 2 คน นักเรียน 75 คน

ปี พ.ศ.2543
ปีการศึกษา 2543 ภาคเรียนที่ 1 มีจำนวนนักเรียน 90 คน ภาคเรียนที่ 2 มีจำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้นเป็น 121 คน ครูผู้ทำการสอน 17 ท่าน, นักการภารโรง 3 คน และแม่บ้าน 2 คน
เดือนสิงหาคม พ.ศ.2543 ทางโรงเรียนได้ซื้อที่ดินบริเวณด้านหน้าโรงเรียนซึ่งมีเนื้อที่ 3 ไร่ 3 งาน 99 ตารางวา เพื่อใช้ในการก่อสร้างอาคารเรียนแผนกประถม
เดือนตุลาคม พ.ศ.2543 ทางโรงเรียนได้ทำการยื่นขออนุญาตก่อสร้างอาคาร และได้รับการอนุญาตในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2543

ปี พ.ศ.2544
เดือนมกราคม ทางโรงเรียนได้จัดซื้อที่ดินเพิ่มเติมอีก 6 ไร่ 1 งาน 7 ตารางวา รวมเป็นเนื้อที่เฉพาะในแผนกประถมทั้งหมด 10 ไร่ 1 งาน 6 ตารางวา เพื่อจัดสร้างสนามฝึกกอล์ฟ, สนามเทนนิส, สนามบาสเก็ตบอล, สนามฟุตบอล และที่จอดรถสำหรับผู้ปกครอง

เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2544 การก่อสาร้างอาคารเรียนแผนกประถมได้เสร็จสมบูรณ์ จึงได้ขออนุญาตเปลี่ยนชื่อจากโรงเรียนอนุบาลรพีเลิศ เป็นโรงเรียนรพีเลิศวิทยา และเปิดทำการเรียนการสอนในระดับประถมศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2544

เดือนมิถุนายน พ.ศ.2544 ได้จัดสร้างสนามเปตองเพื่อให้นักเรียน, ผู้ปกครอง หรือผู้ที่สนใจในกีฬาด้านนี้ได้มีโอกาสเข้ามาฝึกฝน และออกกำลังกายภายในพื้นที่ด้านหน้าของแผนกประถม

เดือนมกราคม พ.ศ.2545 ได้จัดทำหลักสูตรมัธยมต้น พร้อมยื่นแบบแปลนการก่อสร้างอาคาร เพื่อขอขยายหลักสูตรเพิ่มเติม เพื่อขอเปิดทำการเรียนการสอนขึ้นภายในปีการศึกษา 2546

เดือนมีนาคม พ.ศ.2545 ทางศึกษาธิการ จังหวัดลำพูน ได้อนุมัติให้เปิดการเรียนการสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นได้ในปีการศึกษา 2545

ปีการศึกษา 2560 มีจำนวนนักเรียนระดับชั้นเตรียมอนุบาล 152 คน, อนุบาล 299 คน, ประถมศึกษา 300 คน จำนวนผู้บริหาร ครู – บุคลากร 107 ท่าน
พัฒนาการดี มีวัฒนธรรม นำวิชา
เก่งภาษา นำพาเทคโนโลยี มีความรู้สู่สากลบนพื้นฐานคุณธรรม
โรงเรียนรพีเลิศวิทยามุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนที่สมบูรณ์เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุขและมีความเป็นไทย โดยกำหนดเป้าหมายของหลักสูตรให้ผู้เรียนมีลักษณะดังต่อไปนี้
  • เห็นคุณค่าของตนเอง มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีคุณธรรมจริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์
  • มีทักษะกระบวนการคิด การแก้ปัญหา และการค้นคว้าแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการอ่านและการเขียน
  • มีความรู้และทักษะทางวิชาการ โดยเฉพาะด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ มีทักษะและศักยภาพในการจัดการ การทำงาน การใช้สื่อและเทคโนโลยี
  • สามารถใช้ภาษาอังกฤษในการเรียนการสอน แสวงหาความรู้และการสร้างสรรค์งานเพื่อพัฒนาตนเองและสังคม สามารถสื่อสารสองภาษา ก้าวหน้าสู่สากล
  • มีสุขภาพที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ รักการออกกำลังกาย มีระเบียบ วินัย มีน้ำใจเป็นนักกีฬา สามารถดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
  • รักความเป็นไทย รักษาค่านิยมที่ดีงามและเอกลักษณ์ไทย รักชุมชน มีจิตสำนึกรักบ้านเกิด รวมทั้งรักษาคุณงามความดีและชื่อเสียงของโรงเรียน
  • มีค่านิยมเป็นผู้ผลิตมากกว่าเป็นผู้บริโภค
  • ภูมิใจในความเป็นไทย ยึดมั่นในวิถีชีวิตและการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
  • มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ภาษาไทย วรรณคดี ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีไทย ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
แผนที่โรงเรียน